หลักการออกแบบลิฟท์โดยสาร ลิฟท์ในบ้าน สำหรับผู้พิการ

เรียนรู้หลักการออกแบบลิฟท์โดยสาร ลิฟท์ในบ้าน (Home lift) สำหรับผู้พิการอย่างปลอดภัย เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สำหรับในประเทศไทยของเรา ลิฟท์โดยสาร ลิฟท์ในบ้าน (Home lift) สำหรับผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ อาจจะฟังดูใหม่อยู่ เพราะการติดลิฟต์บ้านมีข้อจำกัดหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของงบประมาณ หรือพื้นที่ในการติดตั้ง แต่รู้ไหมว่าลิฟต์บ้านสำหรับผู้สูงอายุ หรือผู้พิการนั้น มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่ช่วยให้ผู้คนเหล่านี้ รวมถึงตัวเรา สามารถดำเนินชีวิตประจำวันภายในบ้านได้ง่ายดาย และปลอดภัยมากขึ้น ในวันนี้ บริษัท เจเค คอนซัลท์เซอร์วิส ซีสเต็ม จํากัด (JK ELEVATOR) เราจะมาแนะนำหลักการออกแบบลิฟท์โดยสาร ลิฟท์ในบ้าน (Home lift) สำหรับผู้พิการ

หลักการออกแบบลิฟท์โดยสาร ลิฟท์ในบ้าน (Home lift) สำหรับผู้พิการ และผู้สูงอายุ อย่างปลอดภัย

ในหัวข้อนี้ เราจะมาพูดถึงหลักการออกแบบส่วนประกอบสำคัญต่าง ๆ ภายในลิฟท์โดยสาร ลิฟต์บ้าน (Home lift) สำหรับผู้พิการ และผู้สูงอายุ ว่าควรมีหลักการออกแบบอย่างไรให้มีความปลอดภัย และสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก ดังนี้

  • พื้นที่โถงหน้าลิฟต์บ้าน
    ในการออกแบบพื้นที่โถงหน้าลิฟท์ ควรมีการออกแบบป้ายแสดงหมายเลขชั้นติดในตำแหน่งที่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจน พร้อมทั้งไม่มีอุปสรรค หรือสิ่งกีดขวางใด ๆ ขวางพื้นที่ทางเข้า-ออกของลิฟท์โดยสาร โดยควรมีพื้นที่ประตูควรกว้างเพียงพอสำหรับผู้โดยสารเป็นพื้นที่อย่างน้อย 1.5 x 1.5 เมตร ซึ่งควรเว้นว่างพื้นที่ เพื่อรองรับสำหรับผู้สูงอายุ และคนพิการที่สามารถเดินเข้าออกได้อย่างสะดวก
  • กลางตัวลิฟท์โดยสาร
    ตัวลิฟท์ควรมีพื้นที่ความสูงอย่างน้อย 2.3 เมตร สำหรับรองรับผู้สูงอายุ และคนพิการ ให้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก พร้อมระบบควบคุมลิฟท์ที่มีตำแหน่งเหมาะสม ที่ให้ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ สามารถควบคุมได้เอง และใช้งานได้อย่างปลอดภัย
  • ประตูลิฟท์โดยสาร
    ในการออกแบบดีไซน์ของสีประตูลิฟท์ ควรมีการออกแบบให้สีประตูลิฟท์โดยสารตัดกับสีบริเวณรอบ ๆ ของตัวลิฟท์ เพื่อให้สามารถสังเกต และมองเห็นได้อย่าง โดยช่องประตูลิฟท์โดยสาร ควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 90 ซม. พร้อมระบบป้องกันไม่ให้ประตูลิฟท์หนีบผู้โดยสาร ซึ่งถ้าหากเป็นลิฟท์ระหว่างสองชั้น อาจมีการทำประตูสองด้านตรงข้ามกันได้ เพื่อให้ผู้โดยสารที่ใช้เก้าอี้รถเข็นวีลแชร์ สามารถเข็นออกได้อย่างง่ายดาย ไม่ต้องคอยกลับรถภายในลิฟท์เมื่อต้องการออก และประตูลิฟท์โดยสาร ควรมีการติดสัญลักษณ์รูปผู้พิการติดเอาไว้ที่ช่องประตูด้านนอกลิฟท์ด้วย เพื่อเป็นการแสดงออกว่า ลิฟท์ตัวนี้ผู้โดยสารคนชรา และผู้พิการ สามารถใช้งานได้
  • ภายในลิฟท์โดยสาร
    ไม่ควรติดกระจกเอาไว้ เนื่องจากอาจทำให้ผู้ที่มีอุปสรรคด้านการมองเห็นเกิดความสับสนเมื่อเข้าใช้งานได้
  • ราวจับภายในลิฟท์
    ราวจับภายในลิฟท์โดยสาร ควรมีลักษณะที่ทำจากวัสดุเรียบ มีความมั่นคงแข็งแรง ไม่ลื่น และไม่เป็นอันตรายต่อการใช้งาน และควรมีลักษณะกลมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 3 ซม. แต่ไม่เกิน 4 ซม. สูงจากพื้นประมาณ 80 – 90 ซม.
  • ปุ่มกดภายในลิฟท์โดยสาร
    การออกแบบป้ายสัญลักษณ์ และปุ่มกดภายในลิฟท์โดยสาร ควรใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย และง่ายต่อการมองเห็น และการอ่าน ซึ่งมีการกำหนดให้มีอักษรเบรลล์กำกับไว้ทุกปุ่มสำหรับผู้พิการทางการมองเห็น ปุ่มกดที่อยู่ล่างสุด ควรอยู่สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 90 ซม. และปุ่มกดบนสุดไม่ควรสูงจากพื้นเกินกว่า 1.2 เมตร ห่างจากมุมภายในลิฟท์ไม่น้อยกว่า 40 ซม.ทั้งนี้ ปุ่มฉุกเฉินควรจัดให้อยู่บริเวณล่างสุด เพื่อให้ง่ายต่อการกดใช้งานมากที่สุด ซึ่งควรเช็กสภาพการใช้งานอย่างละเอียดทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน เมื่อกดปุ่มฉุกเฉินแล้วต้องมีเสียงดัง และมีแสงบอกสถานะ โดยในกรณีที่ลิฟท์โดยสารขัดข้อง จะต้องมีทั้งเสียง และแสงไฟเตือนภัยกะพริบสีแดง เพื่อให้ผู้พิการทางการได้ยิน และมองเห็นทราบว่ามีไฟสัญญาณติด และทำให้ผู้คนข้างนอกรับทราบว่าลิฟท์โดยสารขัดข้อง และทำการช่วยเหลือต่อไป
  • โทรศัพท์ภายในลิฟท์โดยสาร
    โทรศัพท์สำหรับแจ้งเหตุฉุกเฉินภายในลิฟท์โดยสาร ควรอยู่ในบริเวณด้านล่างที่อยู่สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 90 ซม. แต่ไม่เกิน 120 ซม. และต้องมีอักษรเบรลล์บอกบนแผงควบคุมโทรศัพท์ พร้อมแสง และเสียงที่สามารถชี้แจงข้อมูลภายใน และนอกลิฟท์โดยสารได้
  • พื้นผิวสัมผัสภายในลิฟท์โดยสาร
    พื้นผิวควรมีคุณสมบัติในการป้องกันความลื่นได้ดี และส่วนอื่นของลิฟท์โดยสารไม่ควรประกอบจากวัสดุที่สามารถสะท้อนแสงได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันความสับสน และสร้างความปลอดภัยสูงสุดให้แก่ผู้โดยสาร

เป็นอย่างไรกันบ้าง กับความรู้ดี ๆ อย่างหลักการออกแบบลิฟท์โดยสาร ลิฟท์ในบ้าน (Home lift) สำหรับผู้พิการ และผู้สูงอายุที่ เรานำมาฝากกันในวันนี้ หลาย ๆ ท่านคงจะเล็งเห็นความสำคัญของลิฟท์โดยสาร ลิฟต์บ้าน (Home lift) มากขึ้น ว่าเป็นสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวก และเพิ่มความปลอดภัยให้กับเราได้เป็นอย่างดี แต่สำหรับใครที่กำลังสับสนเกี่ยวกับการเลือกติดตั้งงานระบบลิฟท์ ว่าบ้านของเราสามารถติดได้หรือไม่ หรือมีข้อจำกัดอย่างไรบ้าง ให้ บริษัท เจเค คอนซัลท์เซอร์วิส ซีสเต็ม จํากัด (JK ELEVATOR) ดูแลงานด้านลิฟท์ให้กับคุณ เรายินดีให้บริการจำหน่าย ติดตั้ง ซ่อมลิฟท์ บำรุงรักษาลิฟต์ และบริการปรับปรุงลิฟท์ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นลิฟท์ส่งอาหาร ลิฟท์ขนของ ลิฟท์ส่งของ ลิฟท์โดยสาร ลิฟต์บ้าน (Home Lift) หรือลิฟท์บ้าน ราคาย่อมเยา ด้วยทีมงานมืออาชีพที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพสูงสุด มาพร้อมประสบการณ์กว่า 20 ปี เพื่อให้กลับมาพร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภัย

สนใจติดตั้งลิฟท์โดยสาร ลิฟท์ในบ้าน (Home lift) ลิฟท์ขนของ ลิฟท์ส่งของ ลิฟท์ส่งอาหาร พร้อมรับโปรโมชั่นพิเศษได้ที่

โทร
ติดต่อ
line